เมนู

อรรถกถาอุทปานทูสกวรรคที่ 3


อรรถกถาอุทปานทูสกชาดกที่ 1


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปนมฤคทายวัน ทรงปรารภ
สุนัขจิ้งจอกซึ่งทำลายบ่อน้ำตัวหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า
อารญฺญกสฺส อิสิโน ดังนี้.
ได้ยินว่า สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งทำลายบ่อน้ำของภิกษุสงฆ์แล้ว
หลบหนีไป. ครั้นวันหนึ่ง. สามเณรทั้งหลายเอาก้อนดินปาสุนัข
จิ้งจอกตัวนั้นซึ่งมาใกล้บ่อน้ำให้ได้รับความลำบาก. จำเดิมแต่นั้น
สุนัขจิ้งจอกตัวนั้นแม้จะหวลกลับมายังที่นั้นอีกก็ไม่แลดู. ภิกษุ
ทั้งหลายทราบเหตุดังนั้น จึงนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ได้ยินว่า สุนัขจิ้งจอกตัวที่ทำลายบ่อน้ำ จำเดิมแต่พวก
สามเณรทำให้ลำบากแม้จะกลับมาอีกก็ไม่มองดู. พระศาสดาเสด็จมา
แล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนึ่งประชุมกันด้วย
เรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย สุนัขจิ้งจอกตัวนี้ประทุษร้ายบ่อน้ำ ในบัดนี้เท่านั้น
ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ได้เป็นผู้ประทุษร้ายบ่อน้ำเหมือนกัน แล้ว
ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล ในเมืองพาราณสี ป่าอิสิปนะนี้แล ได้มีบ่อน้ำ
นี้แหละ. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดในเรือนของตระกูลในเมือง

พาราณสี พอเจริญวัยก็บวชเป็นฤๅษี แวดล้อมด้วยหมู่ฤๅษีสำเร็จการ
ในป่าอิสิปตนะ. ก็ในกาลนั้น สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งประทุษร้ายบ่อน้ำ
นี้นั่นแหละแล้วหลบหนีไป. ครั้นวันหนึ่ง ดาบสทั้งหลายล้อมสุนัข
จิ้งจอกตัวนั้นไว้จับมันได้ด้วยอุบายอย่างหนึ่ง จึงนำไปยังสำนักของ
พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์เมื่อจะเจรจาปราศรัยกับสุนัขจิ้งจอกนั้น
จึงกล่าวคาถาที่ 1 ว่า :-
ดูก่อนสหาย ทำไมท่านจึงถ่ายมูตร
และคูถรดบ่อน้ำที่ทำโดยยาก ของฤๅษีผู้อยู่
ป่า ผู้แสวงที่ตบะอยู่ตลอดกาลนาน.

เนื้อความของคาถานั้นว่า ดูก่อนสุนัขจิ้งจอกผู้สหาย ทำไม
คือเพื่อประโยชน์อะไร ท่านจึงถ่ายคือถมทับ ประทุษร้ายด้วยมูตร
และกรีษ ซึ่งบ่อน้ำที่ทำได้โดยยาก คือที่ให้สำเร็จได้โดยยาก
ลำบากของท่านผู้ชื่อว่าอยู่ป่า เพราะความเป็นผู้อยู่ในป่าซึ่งได้นามว่า
ฤๅษี เพราะความเป็นผู้แสวงหาคุณ ชื่อว่าผู้มีตบะ เพราะอาศัยตบะ
อยู่ตลอดกาลนาน อธิบายว่า ทำไม ท่านจึงถ่าย คือทำมูตรและกรีษ
ให้ตกลงไปในบ่อน้ำนี้.
สุนัขจิ้งจอกได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวคาถาที่ 2 ว่า :-
พวกเราดื่มกินน้ำ ณ ที่ใดแล้ว ย่อม
ถ่ายอุจจาระปัสสาวะลงในที่นั้น นั่นเป็น

ธรรมดาของสุนัขจิ้งจอกทั้งหลาย ทั้งเป็น
ธรรมดาของบิดามารดาแต่ปู่ย่าตายาย ท่าน
ไม่ควรจะยกโทษธรรมดาอันนั้นของพวกเรา
เลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอส ธมฺโม ได้แก่ นั่นเป็น
สภาวะ. ด้วย บทว่า ยํ ปิวิตฺวา โอหทามเส นี้ท่านแสดงความว่า
ดูก่อนสหาย พวกเราดื่มน้ำในที่ใดย่อมถ่ายอุจจาระรดบ้าง ปัสสาวะ
รดบ้าง เฉพาะที่นั้นเอง นี่เป็นธรรมดาของพวกเราผู้เป็นสุนัขจิ้งจอก.
บทว่า ปิตุปิตามหํ ความว่า นี้เป็นธรรมดาของบิดามารดา และ
ของปู่ย่าตายายของเราทั้งหลาย. บทว่า น ตํ อุชฺฌาตุมรหสิ
ความว่า ท่านไม่ควรยกโทษธรรมดา คือสภาวะนั้น ซึ่งมีมา
โดยประเพณีของพวกเรา คือท่านไม่ควรโกรธในข้อนี้.
พระโพธิสัตว์จึงกล่าวคาถาที่ 3 แก่สุนัขจิ้งจอกนั้นว่า :-
อาการเช่นนี้เป็นธรรมดาของพวก
ท่าน อนึ่ง อาการเช่นไรไม่เป็นธรรมดาของ
พวกท่าน ขอพวกเราอย่าได้เห็นธรรมดาหรือ
มิใช่ธรรมดาของพวกท่านในกาลไหน ๆ อีก
เลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา โว ความว่า ในกาลไหน ๆ
ขอให้พวกเราอย่าได้เป็นธรรมดาหรือมิใช่ธรรมดาของพวกท่านเลย.

พระมหาสัตว์ให้โอวาทแก่สุนัขจิ้งจอกนั้นอย่างนี้แล้วกล่าวว่า
เจ้าอย่ามาอีกต่อไป. จำเดิมแต่นั้น สุนัขจิ้งจอกนั้นแม้จะกลับมาอีก
ก็ไม่มองดู.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประกาศสัจจะทั้ง 4 แล้วทรงประชุมชาดกว่า สุนัขจิ้งจอกตัวที่
ประทุษร้ายบ่อน้ำในกาลนั้น ได้เป็นสุนัขจิ้งจอกตัวนี้เอง ส่วนพระ
ดาบสผู้เป็นครูของคณะดาบาสในครั้งนั้น คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอุทปานทูสกชาดกที่ 1

2. พยัคฆชาดก


ว่าด้วยเรื่องของมิตร


[415] ความเกษมจากโยคะ ย่อมเสื่อมไป
เพราะการคบหากันมิตรคนใด บัณฑิตพึง
รักษาลาภยศและชีวิตของตน ที่มิตรนั้น
ครอบงำไว้เสียก่อน ดุจบุคคลผู้รักษาตาของ
ตนไว้ ฉะนั้น.
[416] ความเกษมจากโยคะ ย่อมเจริญเพราะ
การคบหากับมิตรคนใด บุรุษผู้ฉลาดในกิจ
ทั้งมวล พึงกระทำกิจทุกอย่างของกัลยาณ-
มิตรให้เหมือนของตน.
[417] ดูก่อนราชสีห์และเสือโคร่ง จงมาเถิด
ขอเชิญท่านทั้งสองจงกลับเข้าไปยังป่าใหญ่
พวกมนุษย์อย่ามาตัดป่าของเราให้ปราศจาก
ราชสีห์และเสือโคร่งเสียเลย ราชสีห์และ
เสือโคร่งอย่าได้เป็นผู้ไร้ป่า.

จบ พยัคฆชาดกที่ 2